ข่วงหลวง เลี้ยงผีนาค

ข่วงหลวงเลี้ยงผีนาค  ตั้งอยู่เชิงดอยวัดพระธาตุดอยจอมทอง บริเวณถนนไกรสรสิทธิ์ ชุมชนดอยทอง  อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ความสำคัญในฐานะพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงราย ถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การบวงสรวงผีนาค ซึ่งถือเป็นเป็นหนึ่งในอารักษ์ ของเมืองเชียงราย นามว่า ขุนสร้อยคอคำ ซึ่งสัมพันธ์กับนิทานนาคสร้างเมืองเชียงรายซึ่งมีเนื้อความเกี่ยวกับพญามังรายสร้างเมืองเชียงราย โดยมีพญานาคมาช่วยสร้าง และหาฤกษ์ในการขุดคูเมือง ทั้งสี่ด้านของเมือง โดยในเรื่องเจี้ยผีนาค ได้กล่าวว่าพญามังรายบรรทมโดยตื่นไม่ทันเวลาฤกษ์ในการขุดคูเมืองก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ส่งผลให้พญานาคขุดคูเมืองเพียงผู้เดียวโดยเสร็จเพียงด้านทิศเหนือของดอยจอมทองติดกับแม่น้ำกก ชาวเชียงรายเรียกถนนเส้นที่เกิดการพัฒนาเป็นถนนในปัจจุบันว่า “กองนาค” (นครินทร์  น้ำใจดี.2565:น.77)   ปรากฏหลักฐานคามสำคัญของพื้นที่ในฐานะพื้นที่ในการประกอบพิธีบวงสรวงผีนาค ครั้งสุดท้ายของเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ.2460 เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคอหิวาตโรค  ซึ่งปรากฏหลักฐ่นความสำคัญของพื้นที่ดังกล่าว จากเอกสารของ แก้วมงคล ชัยสุริยันต์ เรื่องผี ของลานนาไทยโบราณ ซึ่งเขียนเขียนภายหลังการเลี้ยงผีนาค ในปี พ.ศ.2486 ซึ่งมีเนื้อความดังนี้

  “ใน พ.ส. 2460  อันเปนปีที่ฮ่าลงเมืองนั้น พระยาราชโยธา(เจิม ปันยารชุน)  ต่อมาเปนพระยาตรังฯ สมุหเทสาภิบาลมนทลอุดร) เปนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย…………………….. ได้ปรึกสากับพระยารัตนาอานาเขต ตกลงกันบวงสรวงผีนาค ด้วยขณะใกล้กับวันวิสาขะบูชา…………กำหนดงาน 5 วันเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ จนถึงวันแรมค่ำ 1 เดือน 8………….

    มณฑลพิธี

   .                สถานที่ประกอบพิธี กะทำนะบริเวน ดอยจอมทอง เรียกกันเปนสามัญในเวลาปรกติว่า ดอยหัวเวียง ในพิธีเรียกดอยหัวนาค ดอยจอมทองเปนหมู่เขาน้อยกลุ่มหนึ่งมี 4 ม่อน หรือ 4 จอม ………………… ที่ตรงหน้าม่อนจอมแจ้ง คือทิสเหนือ เปนสนามหย้า เรียกข่วงหลวง (สนามหลวง) จัดเปนที่มณฑลพิธีบวงสรวงผีนาค”